อาหารบำรุงสายตาความจำเป็นของสารอาหารวิตามิน A นั้น มีผลต่อเซลล์ของจอตา (RETINA )
ในการแปรพลังงานแสงที่ได้รับให้เป็นสัญญาณสู่ระบบประสาทด้วย ซึ่งถ้าหากขาด
ไปการรับภาพของจอตาอาจจะเสื่อมลงได้ แหล่งอาหารที่มี วิตามิน A มาก พบได้
ในผลิตผลของสัตว์ เช่น ตับ , ไข่แดง , นม , น้ำมันสกัดจากตับปลา พืชที่มีสาร
ประกอบแคโรทีน ที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A เช่น พืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด
สีเหลือง ผักบุ้ง , มะละกอ , ฟักทอง ฯลฯ
ความต้องการของร่างกาย ( ใน 1 วัน )
• ทารก และเด็ก 1,500 หน่วยสากล
• เด็กวัยรุ่น 2,500 หน่วยสากล
• ผู้ใหญ่ 5,000 หน่วยสากล
• หญิงมีครรภ์ 6,000 หน่วยสากล
• หญิงให้นมบุตร 8,000 หน่วยสากล
ปริมาณวิตามิน A ในอาหาร 100 กรัม
ใบยอ 43,333 หน่วยสากล
ตับไก่ 32,200 หน่วยสากล
ใบแมงลัก 26,000 หน่วยสากล
ตับวัว 24,964 หน่วยสากล
ใบโหระพา 20,712 หน่วยสากล
ผักตำลึง 18,608 หน่วยสากล
แครอท 18,502หน่วยสากล
ปูทะเล 14,155 หน่วยสากล
ผักโขม 12,860 หน่วยสากล
ตับหมู 11,900 หน่วยสากล
ใบบัวบก 10,962 หน่วยสากล
ผักชะอม 10,066 หน่วยสากล
ผักคะน้า 9,300 หน่วยสากล
ผักกระทิน 7,883 หน่วยสากล
ไข่แดง 7,675 หน่วยสากล
พริกขี้หนู , พริกชี้ฟ้า 7,010หน่วยสากล
เนย 3,300 หน่วยสากล
มะม่วงสุก 2,580 หน่วยสากล
ในการแปรพลังงานแสงที่ได้รับให้เป็นสัญญาณสู่ระบบประสาทด้วย ซึ่งถ้าหากขาด
ไปการรับภาพของจอตาอาจจะเสื่อมลงได้ แหล่งอาหารที่มี วิตามิน A มาก พบได้
ในผลิตผลของสัตว์ เช่น ตับ , ไข่แดง , นม , น้ำมันสกัดจากตับปลา พืชที่มีสาร
ประกอบแคโรทีน ที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A เช่น พืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด
สีเหลือง ผักบุ้ง , มะละกอ , ฟักทอง ฯลฯ
ความต้องการของร่างกาย ( ใน 1 วัน )
• ทารก และเด็ก 1,500 หน่วยสากล
• เด็กวัยรุ่น 2,500 หน่วยสากล
• ผู้ใหญ่ 5,000 หน่วยสากล
• หญิงมีครรภ์ 6,000 หน่วยสากล
• หญิงให้นมบุตร 8,000 หน่วยสากล
ปริมาณวิตามิน A ในอาหาร 100 กรัม
ใบยอ 43,333 หน่วยสากล
ตับไก่ 32,200 หน่วยสากล
ใบแมงลัก 26,000 หน่วยสากล
ตับวัว 24,964 หน่วยสากล
ใบโหระพา 20,712 หน่วยสากล
ผักตำลึง 18,608 หน่วยสากล
แครอท 18,502หน่วยสากล
ปูทะเล 14,155 หน่วยสากล
ผักโขม 12,860 หน่วยสากล
ตับหมู 11,900 หน่วยสากล
ใบบัวบก 10,962 หน่วยสากล
ผักชะอม 10,066 หน่วยสากล
ผักคะน้า 9,300 หน่วยสากล
ผักกระทิน 7,883 หน่วยสากล
ไข่แดง 7,675 หน่วยสากล
พริกขี้หนู , พริกชี้ฟ้า 7,010หน่วยสากล
เนย 3,300 หน่วยสากล
มะม่วงสุก 2,580 หน่วยสากล
แพทย์แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองรับประทานข้าวโพด ไข่ พริกไทย
ฟักทอง และองุ่นแดงให้มากขึ้น เพื่อรักษาสายตาที่เสื่อมลงตามวัยเพราะ
อาหารดังกล่าวอุดมด้วยสารลูตินและซีแซนติน เป็นสารประกอบทางเคมี
ที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ สามารถป้องกันความเสื่อมของจุดรับแสงในดวงตา
อันเป็นส่วนหนึ่งของเรตินา ช่วงก่อนนั้นแพทย์แนะนำให้รับประทานผักใบเขียว
เพื่อป้องกันการเสื่อมของเนื้อเยื่อดวงตา
ปัจจุบันวารสารจักษุวิทยาของอังกฤษระบุว่า ผักและผลไม้ไม่ว่าจะเป็นสีใดก็เป็น
ประโยชน์ต่อสายตาทั้งนั้น เพราะจะไปเพิ่มสารลูตินและซีแซนตินให้แก่ร่างกาย
บรรดาแพทย์ยังกล่าวว่าไข่มีสารประกอบเคมีทั้งสองชนิดนี้มากที่สุดเมื่อเทียบเป็น
ร้อยละ ข้าวโพดเป็นผักที่มีสารลูตินมากที่สุด ในขณะที่พริกไทยมีสารซีแซนตินมากที่สุด
- ผักกระเฉดหน้าไก่
- แกงเลียงผักรวม
- ถั่วลันเตาผัดกุ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น